วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ศัพท์คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตหมวดอักษร A ( AOL ถึง Application Specific Intergrated Circuit )

AOL (ดูที่ America Online)

APaRT ย่อมาจาก Application Packet Recognition and Translation, ระบบการแปลงเพ็กเกตข้อมูลหรือโปรโตคอลต่างๆ กัน ซึ่งการแปลงข้อมูลนี้มีความจำเป็นในระบบที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายต่างโปรโตคอลกัน

API ย่อมากจาก Application Program Interface, เป็นข้อกำหนดที่ให้โปรแกรมประยุกต์เชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์อื่น หรือเชื่อมการทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการ หรือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยทำให้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดูง่ายกว่าความเป็นจริง

API จะกำหนดวิธีการทำงานมาตรฐานของโปรแกรมกับเมนูแบบดึงลง กรอบแสดงการโต้ตอบและช่องหน้าต่าง ตัวอย่างการใช้ API ได้แก่ ไมโครซอฟต์วิโดวส์ โอเอส/ทู และแมคอินทอช

APL ย่อมาจาก A Programming Language, ภาษาเอพีเเอลเป็นภาษาระดับสูงภาษาหนึ่ง พัฒนาโดย Kenneth Iverson

app ย่อมาจาก application, คำนี้มักใช้กับโปรแกรม เช่น App program บางครั้งอาจใช้ appl program (ดูที่ application)

append ผนวก, เพิ่มเติมเข้ากับ, ผนวกข้อความต่อท้ายข้อความเดิม,การนำของสิ่งหนึ่งไปปะต่อท้ายของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เมื่อนำแฟ้มหนึ่งไปต่อท้ายแฟ้มหนึ่ง ซึ่งจะได้แฟ้มใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเก็บข้อมูลเเฟ้มทั้งสองนั้น ตัวอย่างคำสั่ง ได้แก่ คำสั่ง APPEND ในดีเบสจะนำเรคอร์ดใหม่ใส่เข้าไปต่อท้ายตาราง

Apple Computer, Inc. ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นโดย Steve Jobs, Steve Wozniak ที่โรงรถภายในบ้าน เมื่อ 1 เมษายน 1976 เครื่องแอปเปิ้ล I ออกมาเมื่อปี 1976 และแอปเปิ้ล II ออกมาในปี 1977 เครื่องแอปเปิ้ล II มีคุณสมบัติของสถาปัตยกรรมแบบเปิดให้ผู้ผลิตรายอื่นสร้างฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อเพิ่มความสามารถได้ แอปเปิ้ล II กลายมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในบ้านและในชั้นเรียนอย่างรวดเร็ว วิซีแคลซี (VisiCalc) เป็นโปรแกรมสเปรดชีต โปรแกรมแรกที่ออกมาใช้กับแอปเปิ้ล II, เครื่องแอปเปิ้ล III ออกมาในปี 1980 แต่ไม่ประสบความสำเร็จในด้านการขาย เพราะเพิ่มความสามารถขึ้นมาจากเครื่องแอปเปิ้ล II เพียงเล็กน้อย และมีข้อผิดพลาดในการประกอบอีกด้วย

ลิซา (Lisa) ออกมาในปี 1983 ได้รวบรวมแนวคิดในการโต้ตอบกับผู้ใช้ในแบบที่เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

แนวคิดนี้พัฒนาขึ้นมาที่ศูนย์วิจัยปาโลอัลโตของบริษัทซีร็อกซ์ซึ่งได้แก่ วิธีการโต้ตอบกับผู้ใช้แบบกราฟิกอย่างเต็มรูป มีการใช้เมาส์ และมีชุดโปรแกรมระบบงานที่รวมเข้ามา ลิซาประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่อาจเนื่องมาจากเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่า  10,000 ดอลลาร์

แมคอินทอชที่ออกมาในปี 1984 ได้เสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีราคาที่เหมาะแก่การหาซื้อมากกว่าลิซา เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปพับลิชชิงที่ประสบความสำเร็จ เครื่องแมคอินทอชนั้นทำงานช้า จอภาพเล็ก และัเป็นสถาปัตยกรรมแบบปิดที่มีการตำหนิมาบ้าง แต่เมื่อเครื่องแมคอินทอช II ออกมาในปี 1987 ตำหนิเหล่านั้นก็หายไป แมคทูเอสมีจอภาพที่ใหญ่ภาพกราฟิกสีและเสียงดีเยี่ยม รวมถึงเป็นสถาปัตยกรรมที่เปิดมากขึ้น

ในปี 1990 แอปเปิ้ลได้อกแมคอินทอชคลาสสิกมาเป็นคอมพิวเตอร์สำหรับป้อนข้อมูล และในปี 1991 ได้ออกคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ครุ่นพาวเวอร์บุ๊คออกมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์รุ่นควอดรา ที่มีประสิทธิภาพและใช้โปรเซสเซอร์ 68040 ขอโมโตโลราด้วย

ในปี 1993 แอปเปิ้ลได้เข้าสู่ตลาดเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ด้วย personal digital assistant ที่รู้จักกันในชื่อนิวตัน ซึ่งมีโทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และฟังก์ชันอื่นๆ รวมไว้ในอุปกรณ์ขนาดเล็ก

ในปี 1994 แอปเปิ้ลได้ออกคอมพิวเตอร์ชุดพาวเวอร์แมคอินทอช ซึ่งใช้ชิปพาวเวอร์พีซี จึงทำให้ใช้งานระบบปฏิบัติการได้ทั้งของแมคอินทอชและโปรแกรมดอส/วินโดวส์ภายใต้แวร์จำลองตัว ความพยายามลดช่องว่างระหว่างแมคและระบบดอส/วินโดวส์ พาวเวอร์แมคอินทอช 6100/33 ซึ่งเป็นระบบที่ใช้งานกับดอสได้นั้น จึงมีทั้งชิปพาวเวอร์พีซีและชิป 486DX2/66 อยู่ภายในและคุณจะสลับจากระบบปฏิบัติการหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งได้ด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว

ตอนต้นปี 1995 แอปเปิ้ลได้ประกาศแผนการที่จะให้สิทธิในการใช้ระบบปฏิบัติการแมคอินทอชและเทคโนโลยีอื่นๆ แก่ผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์ที่เป็นอิสระเพื่อเข้ามาผลิตเครื่องเลียนแบบแมคอินทอชได้

แม้ว่าแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์เคยเป็นเงาตามเทีียบเคียงเทคโนโลยีของไอบีเอ็มมาหลายปีก็ตาม แต่ขณะนี้เส้นแบ่งที่ชัดเจนเริ่มเลือนหายไป เพราะไมโครซอฟท์วินโดวส์ซึ่งทำงานบนดอส มีการโต้ตอบกับผู้ใช้แบบกราฟิกเหมือนกัน

Apple Desktop Bus ใช้คำย่อว่า ADB, เป็นมาตรฐานการโต้ตอบของเีครื่องแอปเปิ้ลแมคอินทอชกับผู้ใช้ทางแป้นพิมพ์ เมาส์ แทร็กบอล และอุปกรณ์รับข้อมูลอื่นๆ ซึ่งมีความเร็วต่ำ อุปกรณ์แต่ละตัวจะเชื่อมต่อกับเป็นอนุกรมผ่านทาง ADB โดยมีเงื่อนไขที่ห้ามต่อกันเกิน 16 ตัว เครื่องแมคอินทอชรุ่นที่ใช้ ADB มีดังนี้ SE, II, IIx, IIcx และ SE/30 

Apple II เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ที่ทำงานได้อย่างดี หลังจากออกเครื่องแอปเปิ้ลาแล้วก็ได้มีการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ ออกมาอีกเป็นแอปเปิ้ล IIe, IIc และรุ่นสุดท้ายคือ แอปเปิ้ล IIgs ในที่สุดแอปเปิ้ลก็ตัดสินใจหยุดผลิตเครื่องในตะกูลแอปเปิ้ล II ทั้งหมด และหันไปขายเครื่องแมคอินทอชแทน

Apple III คอมพิวเตอร์ที่หวังว่าจะนำมาแทนแอปเปิ้ล II  แต่ไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะปรับแต่งแอปเปิ้ลให้เข้ากับความต้องการแล้วก็ตาม

Apple menu รูปเเอปเปิ้ลเล็ก และมีรอยแทะ รูปนี้จะอยู่มุมซ้ายบนของเมนูบาร์ในเครื่องแมคอินทอช เมื่อคลิกไปที่เมนูแอปเปิ้ล จะปรากฏเมนูเดสก์แอกเซสซอรี่และโปรแกรมทั่วไปแสดงออกมาเพื่อใช้งานขณะที่มีโปรแกรมอื่นทำงานอยู่

AppleShare ระบบปฏิบัติการบนเครือข่ายที่แอปเปิ้ลพัฒนาขึ้นมาให้ทำงานกับเครื่องแมคอินทอช

AppleTalk ระบบเครือข่ายเฉพาะที่ (LAN) ซึ่งใช้ในการสร้างเครือข่ายสำหรับเครื่องแอปเปิ้ลแมคอินทอช เป็นมาตรฐานเครือข่ายซึ่งแอปเปิ้ลพัฒนาขึ้นมาเพื่อต่อแมคอินทอชและพีซีเข้าด้วยกัน เครื่องแมคอินทอชทุกเครื่องมีพอร์ตแอปเปิ้ลทอล์กอยู่แล้ว ขณะที่ไอบีเอ็มไม่มีพอร์ตดังกล่าว แอปเปิ้ลทอล์กเป็นเครือข่ายราคาถูก จึงทำงานช้ากว่าเครือข่ายแบบอื่น (ดูที่ network)

application ใช้คำย่อว่า app, ระบบงาน, โปรแกรมซึ่งทำหน้าที่ช่วยผู้ใช้งานเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง, คำนี้มักนำมาประกอบกับคำว่า application เป็นคำใหม่ คือ a

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น